ข้อมูลสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เดือน ก.ย.2567 ระบุว่า ชาวต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร ตามมาตรา 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,353,824 คน และเข้ามาทำงานในประเทศไทย มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ผู้จัดการบริษัท, บริหารของหน่วยงานเอกชน จำนวน 68,563 ตำแหน่ง ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการสอน จำนวน 36,655 ตำแหน่ง และผู้ประกอบวิชาชีพด้านอื่น ๆ จำนวน 10,753 ตำแหน่ง
กล่าวเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพด้านการสอน ( Eucation Teacher) หรือ ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ ผู้สอนหนังสือในคณะต่าง ๆ ของ มหาวิทยาลัย และ สถาบันอุดมศึกษาให้แก่ผู้ที่เรียนในขั้นปริญญาตรีและปริญญาโทในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยให้เป็นบัณฑิตที่พร้อมไปด้วยวิทยาการ และจริยธรรม มีหน้าที่สอนตั้งแต่หนึ่งวิชาขึ้นไปในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษา
จำนวนนี้ ยังไม่รวมครูต่างชาติอีก 11,200 คน แม้ไทยไม่ใช่ประเทศลำดับต้น ๆ ที่มีครูต่างชาติเข้ามาทำงานมากที่สุด แต่พบ ครูจากหลายประเทศเข้ามาสอนภาษาให้นักเรียนชาวไทยจำนวนไม่น้อย โดย 5 อันดับแรก คือ ชาวฟิลิปปินส์ 4,360 คน , อังกฤษ 1,569 คน , สหรัฐอเมริกา 1,143 คน, จีน 778 คน, ญี่ปุ่น 351 คน แอฟริกาใต้ และอื่น ๆ 2,999 คน
ตามขั้นตอนของกฎหมาย หากครูต่างชาติจะเข้ามาสอนหนังสือ จะต้องขอวีซา และมีสัญญาจ้างงานระหว่างโรงเรียนกับครูต่างชาติ ต้องระบุวันเริ่มงานล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน มีหนังสือรับรองจากสถานศึกษา และสำเนาเอกสารการศึกษาและการรับรองประวัติการทำงาน หนังสือรับรองจากสถานทูต (ในกรณีที่จำเป็น) ,ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ,วีซา( Non-Immigrant B) ,ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ซึ่งออกโดยกระทรวงแรงงานไทย และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา
แต่ที่ผ่านมาพบว่า มีครูต่างชาติจำนวนไม่น้อย ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมเป็นการชั่วคราว ดังนั้นทางคุรุสภา โดย ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา จึงได้ร่วมกับวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย แก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการจัดอบรมหลักสูตรมาตรฐานความรู้วิชาชีพให้ครูต่างชาติ มีมาตรฐานความรู้วิชาชีพและมีคุณสมบัติประกอบวิชาชีพครู โดยนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอนที่เรียกว่า ONE PLAT FORM มาใช้กับครูต่างชาติ
ผศ.ดร.อาทิตย์ ฉัตรชัยพลรัตน์ ผู้แทนอธิการบดี วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย อธิบายว่า ตามปกติการเข้ามาสอนหนังสือในประเทศไทยของครูต่างชาติ จะต้องขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา ซึ่งจะมี 1 ประเภท เป็นใบอนุญาต ประ กอบวิชาชีพครู 5 ปี สำหรับผู้ที่มีวุฒิการศึกษาด้านครุศาสตร์และมีประสบการณ์สอนอย่างน้อย 1 ปี โดยผู้ที่เคยมีใบอนุญาตครูจากประเทศต้นทางจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
และใบอนุญาตชั่วคราว 2 ปี ในผู้ที่ไม่มีวุฒิครู แต่จบระดับปริญญาจากคณะใด ๆก็ได้ และมหาวิทยาลัยที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งผู้สมัครบางรายอาจต้องสอบ TOEIC หรือทดสอบระดับภาษาอังกฤษ หากไม่ได้ถือพาสปอร์ตจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือออสเตรเลีย ลักษณะเดิมไม่ต่างกับครูชาวไทย คือ ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตสอนในโรงเรียน
แต่ปัจจุบันกฎหมายบังคับให้ ทั้งครูไทยและครูต่างชาติที่เข้ามาสอนภาษาในประเทศไทย จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูจึงสามารถจะสอนหนังสือได้
“เมื่อก่อนจะใช้วิธีการผ่อนผัน ครั้งละ 2 ปี และต่ออายุอีก 2 ปี เช่นเดียวกับครูชาวต่างชาติที่ต้องใช้เวลาเรียน 2 ปี เพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพ แต่เมื่อกฎ หมายบังคับทางคุรุสภา จึงแก้ปัญหาด้วยการออกแบบหลักสูตร ONE PLATFORM เป็นรูปแบบการเรียนออนไลน์ ใช้เวลาเรียนประมาณปีครึ่ง ตรงนี้จะตอบโจทย์กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงอุดมศึกษาฯ เพราะปัจจุบัน ไทยมีครูต่างชาติเข้ามาสอนหนังสืออยู่ประมาณกว่า 10,000 คน”
สำหรับหลักสูตรมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู สำหรับผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมเป็นการชั่วคราว ประกอบด้วย 7 หน่วยการเรียนรู้ หรือ 7 โมดูล (Module) ในหนึ่งโมดูลจะใช้เวลาเรียนประมาณ 2 เดือน เป็นเวลา 60 ชั่วโมง โดย 48 ชั่วโมงแรก จะเป็นการดูคลิปการเรียน การสอน และการส่งงาน ซึ่งครูต่างชาติสามารถจะเรียนช่วงเวลาใดก็ได้ โดยเปิดดูคลิปใน one platform ได้ครั้งละครึ่งชั่วโมง ซึ่ง 1 โมดูลจะมีทั้งคลิปให้ดูทั้งหมดจำนวน 96 คลิป
“เราจะรับนักศึกษาแบ่งเป็นรุ่น รุ่นแรก 500คน เต็มหมดแล้ว รุ่นที่ 2 อีก 500 คนนักศึกษาก็ลงทะเบียนเรียนเต็มหมดแล้ว...ไม่ต้องกลัวว่า อาจารย์ที่ปรึกษาจะดูไม่ทัน เพราะการเรียนจะมีการแบ่งตามระดับชั้นที่ครูต่างชาติจะเรียน เช่น ระดับประถมศึกษา , มัธยมศึกษา …ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษา ก็จะมีหน้าที่ควบคุม ตรวจการบ้าน หลักสูตรเบื้องต้นนอกเหนือจากเรื่องเรียนแล้ว ก็จะมีการสอนเรื่องบริบทโลก เศรษฐกิจพอเพียง” ผศ.ดร.อาทิตย์ กล่าว
หลังจากเรียนในวันแพลตฟอร์ม จบภายใน 2 เดือนแล้ว การเรียนในสัปดาห์สุดท้ายจะมีนักวิชาการจากคุรุสภามาสอนในชั้นเรียน หลังจากนั้นจึงจะได้ใบประกาศนียบัตร แต่จะต้องเรียนต่อในโมดูลที่ 2 อีก 2 เดือน ในลักษณะเดียวกัน โดยต้องเรียนให้ครบ 7 โมดุล จึงจะได้ใบประกอบวิชาชีพครูถาวร เพื่อไม่ต้องมาต่ออายุชั่วคราวทุก ๆ 2 ปี ถือเป็นโปรแกรมแรกที่ทำกับครูชาวต่างชาติ โดยวิทยาลัยบัณฑิตเอเชียจะเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 (โมดูล 1) และ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จะเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 (โมดูล 2)
“สถาบันคุรุพัฒนา ของคุรุสภา เหมือนมหาวิทยาลัยใหญ่ ที่สามารถอบรมวิชาชีพครู เปิดให้ครูต่างชาติลงทะเบียนเรียนใบประกอบวิชาชีพครู ล็อตแรกรับจำนวน 500 คน ห้องเรียนละ 30 กว่าคน จำนวน 15 ห้อง ขณะนี้นักศึกษาเต็มหมดแล้ว เปิดรับรุ่น 2 อีก 500 คน ก็เต็มแล้ว ขณะนี้ มีผู้รอคิวลงทะเบียนเรียนและรอรับการอบรมให้ได้ใบประกอบวิชาชีพครู อีกเกือบหมื่นคน เพราะต้องการใบประกอบวิชาชีพครู เพื่อให้ได้สอนในประเทศไทย”
สำหรับการป้องกันการทุจริต เช่นการจ้างบุคคลภายนอก เข้าอบรมหรือเรียนแทนครูชาวต่างชาตินั้น ผศ.ดร.อาทิตย์ บอกว่า ทำได้ยาก เนื่องจากโปรมแกรมการเรียนจะใช้ระบบ AI ตรวจจับ นักศึกษาจะต้องนั่งเรียนและดูคลิปให้จบ จากเนื้อ หาหลักสูตร 48 ชั่วโมง แต่คุรุสภาจะตัดเนื้อหาที่ต้องเรียน 1 ชั่วโมง เหลือครึ่งหนึ่ง โดยต้องดูคลิปให้จบทั้งหมด 96 คลิปภายในเวลา 2 เดือน หากไม่ครบ ก็ต้องลงทะเบียนเรียนใหม่
“ส่วนจ้างคนอื่นคลิป ดูและทำการบ้านแทน ก็ทำยาก เพราะผู้เรียนจะต้องพบอาจารย์ผู้ควบคุมทุก 2 สัปดาห์ เขาจะต้องส่งการบ้าน และอาจารย์ก็ต้องถามเนื้อหาที่เรียนด้วย ซึ่งหลังจากเรียนไปแล้ว 1 โมดูล ก็ต้องตรวจสอบผลลัพธ์ และการตอบสนองของครูชาวต่างชาติเป็นอย่างไร เป็นการนำ AI มาใช้หลักสูตรให้เข้ม และกระชับขึ้น โดยให้สามารถเรียนแบบ Any time Any where โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยก็ได้ อบรมครูแบบออนไลน์ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ของความเป็นครู”
สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นความต้องการของคุรุสภาที่ต้องการบริหารจัดการและพัฒนาชาวต่างชาติให้เป็นครูอาชีพแบบสมบูรณ์แบบ เนื่องจากตามปกติสัญญาจ้างครูต่างชาติจะจ้างในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ,มัธยมศึกษา และโรงเรียนนานาชาติ โดยครูต่างชาติมีทั้งประเภทที่เดินทางมาสอนและอยู่เมืองไทยไม่นาน และส่วนที่อยู่เมืองไทยถาวร ก็จะแตกต่างกันไป บางคนก็มาแบบแพกเพ็ก อยู่ตามศูนย์สอนภาษาอังกฤษ ซึ่งในแต่ละแห่งสัญญาการสอนจะแตกต่างกัน
ครูที่สอนในระดับประถมวัย และครูระดับมัธยมศึกษาก็จะมีการจัดเนื้อหาและสัดส่วนให้ใกล้เคียงกัน ส่วนครูต่างชาติที่สอนในโรงเรียนอาชีวะพบน้อยมาก มีเพียงไม่กี่คน ส่วนใหญ่จะไปกองอยู่ที่ชั้นประถมและมัธยมมากว่า
“ที่ผ่านมา ครูต่างชาติที่เข้ามาสอนในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะทำใบอนุโลมให้กับผู้ที่ไม่ได้มีใบประกอบวิชาชีพ ขณะที่ ครูต่างชาติ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเรียนการสอนเพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับครู และนักเรียนที่ถูกแบ่งตามชั้นเรียนที่สอน” ผศ.ดร.อาทิตย์ ย้ำ
| ประกาศรับสมัครอาจารย์ประจำคณะนิติศาตร์ 11/5/2024 8:39:31 AM |
| โปรแกรม การแข่งขัน "IMANE THAILAND FUTSAL 11/5/2024 8:39:31 AM |
| ดร.กษมา ชนะวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี/กรรมการสภาวิทยาลัยบัณฑิต 11/5/2024 8:39:31 AM |
| ข่าวสารจากสภาวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 11/5/2024 8:39:31 AM |
| อาจารย์วิทยาลัยบัณฑิตเอเซียและขอนแก่น เอฟซี ร่วมสัมมนา โ 11/5/2024 8:39:31 AM |