เราถึงพลูโตแล้ว

ช่วงหัวค่ำวันนี้ ก็คืออีกไม่กี่ชั่วโมงขณะเขียนบทความนี้อยู่ยานสำรวจดาวพลูโตลำแรกของมนุษย์จะมีกำหนดเดินทางเข้าสู่ระบบของดาวพลูโต เพื่อถ่ายภาพและศึกษาอย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ค้นพบได้เกือบศตวรรษ ข้อมูลที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงการคาดเดาจากภาพที่กล้องโทรทัศน์ถ่ายได้เท่านั้น แต่ด้วยระยะทางที่ไกลมากและขนาดที่เล็กมากของพลูโต ทำให้ศึกษามันได้ยากและรู้่เรืองของมันน้อยมาก ปัจจุบันเราทราบเพียงขนาด มวลและเส้นทางโคจรของพลูโตเท่านั้น แต่ไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับลักษณะพื้นผิวและชั้นบรรยากาศ รวมถึงดวงจันทร์ของมันด้วย
 



    ยาน New Horizon เริ่มเดินทางออกจากโลกเมื่อเดือนมรกราคม 2006 และมีกำหนดบินเฉียดดาวพลูโตในวันที่ 14 กรกฎาคม 2014 ด้วยระยะห่างจากโลกมากกว่า 4,400 ล้านกิโลเมคร เป็นจุดที่พลูโตเคลื่อนเข้ามาใกล้เราที่สุดที่จะส่งยานไปสำรวจได้ ถ้าหากภารกิจล้มเหลวหรือยานไปถึงช้ากว่ากำหนดก็จะทำให้ต้องรอไปอีกถึง 200 ปีกว่าที่พลูโตจะโคจรกลับมาจุดนี้อีกครั้ง ดังนั้นภารกิจนี้จึงสำคัญมากเพราะมีโอกาสครั้งแรกที่อาจจะเป็นครั้งเดียวในชั่วอายุของเราก็เป็นได้ แต่จากรายงานล่าสุดดูเหมือนว่า New Horizon ยังคงอยู่ในเส้นทางตามกำหนดด้วยความเร็วสูงถึง 55,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นับว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับยานในภารกิจอื่นๆ ที่ผ่านมา หลังเข้าสู่ระบบของพลูโตและทำภารกิจถ่ายภาพ วิเคราะห์ส่วนประกอบแล้ว ก็จะมุ่งหน้าออกจากระบบสุริยะเพื่อศึกษาวัตถุในแถบไคเปอร์ต่อไป ซึ่งปัจจุบันยานวอยเจอร์ 1 และ 2 ล่วงหน้าออกไปไกลมากแล้ว
     ถ้าหากไม่มีอะไรผิดพลาด New Horizon จะถึงพลูโตในเวลา 18.49 น. ของวันที่ 14 กรกฏาคม 2015 ตามเวลาในประเทศไทย แต่สัญญาณภาพหรือข้อมูลต่างๆจะส่งกลับมาถึงโลกคงต้องรอถึงช่วงเช้าวันรุ่งขึ้นเพราะระยะทางจากพลูโตมาถึงโลกนั้นไกลมากจนแม้แต่สัญญาณวิทยุที่เดินทางเท่าความเร็วแสงยังต้องรอกันหลายชั่วโมงกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นี่คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจจดจ่อกับภารกิจนี้มาก มันคือยานลำแรกที่สำรวจดาวดวงนี้ เหมือนๆกับครั้งแรกๆที่เราส่งยานไปดาวอังคาร ความตืนเต้นมันก็พอพอกันกับการรอที่จะได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อนเหมือนครั้งที่ภารกิจอพอลโล่ลงดวงจันทร์ ก็ปรากฎว่าแทบจะต้องเขียนตำราเกี่ยวกับการกำเนิดโลกและดวงจันทร์กันใหม่หมดทีเดียว การมาพลูโตครั้งนี้ก็คงไม่ต่างกัน ถัดจากเช้าวันนี้ ทุกตำรา ทุกบทความที่กล่าวถึงลูกน้ำแข็งทรงกลมขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ดวงนี้จะต้องเขียนใหม่หมดอย่างแน่นอน
















วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
สถาบันในเครือ
เป็นสถาบันด้านการศึกษาและมูลนิธิ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ก่อตั้งขึั้น สำหรับบริการด้านการเรียน ทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรม ด้านการศึกษา มูลนิธิหมอกระแส ชนะวงศ์และสถาบันกระแสภิวัฒน์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนแก่คนรุ่นหลัง