ช่วงนี้มีข่าวเรื่องการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ยินบ่อยๆ ก็เกิดแนวความคิดว่าเราต้องมาทบทวนกันใหม่ซะแล้วในเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลอันมีค่าของเราที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งขอให้เข้าใจก่อนว่าทันทีที่คอมพิวเตอร์ของท่านมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไม่ว่าจะภายในองค์กรหรือออกโลดแล่นในอินเตอร์เนตนั้น ท่านกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการที่จะถูกโจมตีแล้ว เพียงแต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับว่าท่านเป็นใครเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเพื่อความไม่ประมาทเราควรจะมาทราบถึงวิธีการรักษาข้อมูลของเรากันบ้างในเบื่องต้น อย่างน้อยถ้าเจอสถานการณ์จริงๆก็อาจจะช่วยทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีกระทำการได้ช้าลงบ้างก็ยังดีกว่าไม่สามารถสกัดอะไรได้เลย ซึ่งบทความนี้คงจะไม่กล่าวการป้องกันเชิงเทคนิครักษาความปลอดของระบบเพราะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบที่เขาชำนาญ แต่ในระดับ User ทั่วไปนี้คงจะกล่าวถึงในเรื่องที่ปฏิบัติได้ง่ายๆ ในเรื่องของการเก็บรักษาไฟล์ในที่ใดมีความปลอดภัยทั้งภัยคุกคามจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์
1.แผ่น CD/DVD
ด้วยความจุที่จัดว่าเยอะพอสมควร ซึ่งในระดับ 700 MB หากเป็นแผ่น CD-ROM และ 4.7 GB หากเป็น DVD-ROM มีข้อดีคือมันเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ส่ามารถแก้ไขหรือลบได้โดยวิธีปกติ แต่มันมีข้อด้อยอย่างยิ่งในเรื่องความบอบบางเนื่องจากตัวแผ่นเป็นลักษณะเปลือยไม่มีอะไรป้องกัน จึงเสียงต่อการเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย และนำมาซึ่งการใช้งานไม่ได้ในที่สุด จึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นเพียงการสำรองข้อมูลที่ไม่สำคัญและมีข้อมูลต้นฉบับอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วเท่านั้น ไม่ควรฝากผีฝากไข้เต็มตัวกับมัน และขอจัดลำดับความปลอดภัยของข้อมูลไว้ลำดับท้ายสุด
2.Flash Drive
ความจุมหาศาลแถมยังพกพาสะดวก ที่สำคัญดูจากรูปร่างภายนอกแล้วต้องบอกว่าทนทานมากกว่าแผ่น CD/DVD เยอะ แต่กลับเป็นสถานที่มีความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลกมากกว่า CD/DVD เสียอีกเนื่องจากเป็นสื่อบันทึกที่เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขหรือลบได้ทันที ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมผ่านไวรัสหรือการเจาะระบบก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามยังจัดว่ามีความมั่นคงในการเก็บรักษาสูงกว่าแผ่น CD/DVD อยู่เพราะเก็บในชิป Solid ที่ถูกป้องกันด้วยกล่องพลาสติกอีกทีหนึ่ง เหมาะกับการนำมาใช้เก็บข้อมูลสำคัญได้แต่ต้องแน่ใจจะไม่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัสอยู่ซึ่งบางครั้งเราก็คาดเดาได้ยาก
3.Harddisk แบบพกพา
เปรียบได้กับ Flashdrive ที่มีความจุสูงระดับ 500 GB หรือมากกว่า มันไม่ได้ต่อกับเครื่องตลอดเวลาเหมือนฮาร์ดดิสภายในเครื่อง จึงได้เปรียบเรื่องความเป็นส่วนตัว หลายคนนิยมเก็บข้อมูลประเภทที่ไม่ใช่งานสำคัญในสิ่งนี้ แต่นิยมเก็บข้อมูลที่สำคัญในทางส่วนตัว เช่นรูปภาพ เพลง หรือวิดีโอ เพื่อแบ่งเบาความจุจากฮาร์ดดิสในเครื่อง ซึงอันที่จริงแล้ว เราไม่ควรประมาทกับฮาร์ดดิสพกพาเลย มันอาจจะรอดพ้นการเข้าถึงโดยผู้ไม่ประสงค์ดี แต่โดยกายภาพแล้วมันบอบบางมาก หากพบแรงสะเืืืืทือนหรือกระแทกเพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสหยุดทำงานและสูญเสียข้อมูลทั้งหมดได้ จะสังเกตได้ว่าฮาร์ดดิสพกพาบางรุ่นจะแถมซองหรือกระเป๋ากันกระแทกมาให้ด้วย นั่นบ่งบอกได้อย่างดีแล้วว่าต้องการความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้งาน จึงถูกจัดลำดับความปลอดภัยของอุปกรณ์เ้ก็บข้อมุลราคาแพงนี้ไว้ที่เพียงลำดับที่ 3 เท่านั้น
4.Harddisk
อุปกรณ์เก็บข้อมูลหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง มีความจุมหาศาลที่สุดจนไม่ต้องกังวลว่ามันจะเต็ม จัดเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่มั่นคงสูงไว้ใจได้มากกว่าสองประเภทเพราะมันถูกเก็บรักษาอย่างดีภายในเครื่องของเรา ถ้าหากไม่มีอะไรร้ายแรงมากระทบเช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ หรืออะไรที่ส่งสนามแม่้เหล็กความเข้มสูงแผ่มาถึงยังไงก็รักษาข้อมูลไว้ได้ิอย่างดี แต่สิ่งที่น่าห่้วงคือการเข้าถึงจากผู้ไม่ประสงค์ดีก็ง่ายทีุ่สุดเช่นกันเพราะมันอยู่ในเครื่องเรานั่นเอง หมายความทุกครั้งที่เราเปิดเครื่องมันก็ต้องทำงานไปด้วยและเมื่อใดที่ต่อกับอินเตอร์เนตหรือเครือข่ายใดๆ ฮาร์ดดิสของเราก็ถือว่าอยู่ในเส้นทางของการเข้าถึงจากถายนอกด้วยเช่นกัน กรณีคดีความแฮกข้อมูลต่างๆก็ล้วนแล้วถูกเจาะลงมาที่ฮาร์ดดิสทั้งหมด ดังนั้นมันอาจจะมีความมั่นคงสูงทางกายภาพของมัน แต่การจะเ้ก็บข้อมูลไว้ในนี้ก็ไม่ได้ปลอดภัย 100% หากไม่มีการจัดระบบระเีบียบและการป้องกันทางเครือข่ายที่ดี ด้วยความแข็งแกร่งนี้ซึ่งอนาคตจะปรับเปลี่ยนมาใช้แบบ Solid แทนจานแม่เหล็กแบบเดิม จึงถูกจัดลำดับไว้ที่อันดับ 2
5.Cloud Storage
มาถึงอันดับหนึ่งของเราในวันนี้ในเรื่องของความปลอดภัยและมั่นคงในการจัดเก็บข้อมูล นั่นคือการอัพโหลดชีวิตของคุณทั้งชีวิตไปเก็บไว้ใน Storage บนอินเตอร์เนตซึ่งปัจจุบันพัฒนาเป็นระับบประมวลผลหลายเครื่องที่เรียกว่า Cloud ซึ่งไว้ใจได้เรื่องของความมั่นคงทางกายภาพที่ปกติแล้วจะมีการ Backup ไว้มากกกว่าหนึ่งแห่งเสมอและเป็นแบบสุ่มจึงยากที่่จะเข้าถึงได้หากไม่ใช่เจ้าของ อย่างไรก็ตามมันรักษาความปลอดภัยการเข้าถึงด้วยรหัสผ่าน ตราบใดที่ไม่ทราบรหัสผ่านก็หมดสิทธิ์เปิดกล่อง แน่นอนว่าการเข้าถึงโดยวิธีรการที่เบสิคแบบนี้ มีโอกาสที่นักเจาะระบบจะสามารถหาช่องทางล็อคอินได้ถ้าหากผู้ดูแลระบบไม่มีการอัพเดตด้านการป้องกันที่่ดีพอ ซึ่งน้อยรายมากที่จะตกเป็นเหยื่อได้ ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทเสียมากกว่าความบกพร่องของระบบ โดยรวมแล้วถือว่าการเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆมีความไว้ใจได้มากกว่า 4 อันดับแรกในบทความนี้อยู่มากทีเดียว หน้าที่เพียงอย่างเีดียวของคุณคืออย่าให้ใครทราบรหัสผ่านก็พอแล้ว ซึ่งในบางครั้งหากเป็นช้อมูลที่สำคัญมากๆ ก็จะใช้การเปลี่ยนรหัสผ่านทุกช่วงเวลาหนึ่งก็เป็นทางออกที่ดี สรุปคือคุณรักษาเพียงกุญแจ ส่วนพื้นที่นั้นไม่ต้องห่วงเพราะมีความมั่นคงทางกายภาพแกร่งพอที่จะแน่ใจว่าไม่มีอะไรสูญหาย
| อาจารย์วิทยาลัยบัณฑิตเอเซียและขอนแก่น เอฟซี ร่วมสัมมนา โ 7/3/2013 12:20:01 PM |
| โครงการสัมมนา การวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT Analysis เพื่ 7/3/2013 12:20:01 PM |
| สอยคิวไทยผงาดแชมป์โลก! พลอย แซงฮ่องกงคว้าชัย อิศจันท์คว้า 7/3/2013 12:20:01 PM |
| วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ งานสวนพฤกษศาส 7/3/2013 12:20:01 PM |
| ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 16 7/3/2013 12:20:01 PM |